เรื่องที่ควรรู้ระหว่างผ่อนบ้านกับธอส.


เรื่องที่ควรรู้ระหว่างผ่อนบ้านกับธอส.     

หลังจากกู้ผ่านการโอนบ้านเสร็จหลายคนอาจะดีใจที่ได้บ้านใหม่ หรือไปกินเลี้ยงต่าง ๆ เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่เคยกลับไปอ่านสัญญาเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ เกายวกับวงเงินกู้เลยบางคนอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าดอกเบี้ยจะลอยตัวเมื่อไหร่เมื่อผ่อนไปซักพักตั้งหน้าตั้งตาผ่อนอย่างเดียว พอเรื่มมาถึงจุดที่เหนื่อยล้าก็จะพาลว่าผ่อนมาตั้งนานเงินต้นไม่ลดสักที และพอเกิดปัญหาขึ้นก็กลับไปต่อว่าธนาคารหรือต้องไปเสียเวลาปรับปรุงข้อมูลยุ่งยากและเสียเวลาดังนั้นผู้เขียนจะมาแนะนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เบื้องต้นให้สำหรับคนที่กู้บ้านกับธนาคารอาคารสงเคราะห์

1.ระหว่างผ่อนบ้านกับธอส. สิ่งที่ควรรู้

การชำระเงินงวดผ่อนของ ธอส.ไม่ได้กำหนดว่าเซ็นสัญญาวันนี้ แล้วจะไปจ่ายอีกในวันเดียวกันในเดือนถัดไปสำหรับการผ่อนบ้านของธอส. นับเป็นเดือนคือวันที่ 1 ถึงสิ้นเดือนคุณจะจ่ายวันไหนก็ได้ในแต่ละเดือนแต่ต้องอยู่ในเดือนนั้น ๆ

  • หากคุณลืมที่จะจ่ายในเดือนนี้คุณไม่สามารถข้ามไปจ่ายเดือนหน้าได้ตามใจชอบ คุณต้องแจ้งให้พนักงานทราบก่อนว่าคุณลืมชำระในเดือนนั้นแล้วจึงเข้าไปชำระที่ธนาคารไม่อย่างนั้นเงินที่คุณจ่ายซ้ำจะไปหักต้นของเดือนที่คุณข้ามมาหมดและบัญชีของคุณจะเป็นหนี้ค้าง หากคุณไม่ทราบปล่อยไว้นานเกิน 75 วันดอกเบี้ยจะปรับเป็น 13%  สามเท่าตัว  ต้องเสียเวลาคุณเข้ามาชำระในวงเงินที่สูงและถ้าไม่สามารถจ่ายได้ต้องมาดำเนินการประนอมหนี้ซึ่งยุ่งยากมาก และคุณจะเสียประวัติในบัญชีมีผลต่อการกู้เพิ่ม หรือขอเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด ถ้าผ่อนไปสักพักเมื่อหมดระยะเวลาของดอกเบี้ยขั้นต่ำแล้วเปลี่ยนดอกเบี้ยขอใบรับรองภาษี เปลี่ยนดอกเบี้ย กู้เพิ่ม
เรื่องที่ควรรู้ระหว่างผ่อนบ้านกับธอส.
เรื่องที่ควรรู้ระหว่างผ่อนบ้านกับธอส. ภาพจาก https://pixabay.com

จากประวัติการชำระเงินงวดเบื่องต้นจะส่งผลต่อธุรกรรมต่อไปนี้

  • การขอเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย  สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าที่มีประวัติชำระดีสามารถเขียนคำร้องขอเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้หลังจากหมดโปรโมชั่นดอกเบี้ยถูกคงที่ในช่วงแรกโดย ลูกค้ารายย่อยสวัสดิการจะสามารถขอลดดอกเบี้ยได้ทุก ๆ สองปีหลังหมดโปรโมชั่นดอกเบี้ยถูกในช่วงแรกจนตลอดอายุสัญญา  ลูกค้ารายย่อยทั่วไปและอาชีพอิสระ จะสามารถขอลดดอกเบี้ยได้ทุกๆ สามปีหลังหมดโปรโมชั่นดอกเบี้ยถูกในช่วงแรก จนตลอดอายุสัญญา ซึ่งธนาคารจะไม่ได้มีระบบแจ้งเตือนไปยังลูกค้าให้เข้ามาเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพราะฉะนั้นคุณต้องศึกษาสัญญาดี ๆ ว่าคุณจะสามารถดำเนินการได้เมื่อไหร่เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง ดอกเบี้ยที่ถูกลงจะทำให้เงินต้นลดเร็วขึ้น
  • ลูกค้าสามารถกู้เพิ่มได้ หากมีการผ่อนมาสักระยะ โดยการคำนวนวงเงินเพิ่มตามอัตรากำลังที่ลูกค้ามีจะได้เท่าไหร่หรือจะไม่ได้เลยขึ้นอยู่กับประวัติการผ่อน รายได้ และยอดหนี้เดิม
  • ในทุก ๆ ปีคุณสามารถขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้

2.ผ่อนหมดหรือแจ้งปิดบัญชี

  • เมื่อคุณผ่อนจนหมดอยากจะปิดบัญชีให้คุณเข้าไปที่ธนาคารแจ้งความประสงค์ขอปิดยอดหนี้และนำยอดที่ได้ไปชำระและเก็บใบเสร็จไว้เขียนคำร้องขอไถ่ถอน จะใช้เวลาประมาณ 20 วันทำการและจะนัดโอนที่กรมที่ดินเสียค่าธรรมเนียมการโอนประมาณไม่เกิน 200 บาท

อ่านเรื่องแนะนำ